มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 และคำสั่งจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ 38 ,39 ,40 /2564 ลงวันที่ 2 ส.ค.2564


คำสั่งจังหวัดสกลนคร ฉบับที่ 38 , 39 , 40 /2564ลงวันที่ 2 ส.ค.2564
- การรายงานตัวเข้าจังหวัด
- มาตรการเข้าพักโรงแรม
- มาตรการจัดกิจกรรมรวม



มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสกลนคร มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค. 64 เป็นต้นไป




คำสั่งจังหวัดสกลนคร
ที่ ๓๔ /๒๕๖๔
เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ตามที่จังหวัดสกลนคร ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครไปแล้วนั้น เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-1) ในประเทศไทยยังคงมีการระบาดระลอกใหม่เป็นวงกว้าง ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒(๑) (๒) หรือ (๓) และมาตรา ๓(๒) แห่งพระราชบัญญัติ
โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๕ และข้อ ๗ (๑) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๔ (ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสกลนคร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสกลนคร ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ จึงยกเลิกคำสั่งจังหวัดสกลนคร ที่ ๓๕/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ และมีคำสั่งดังต่อไปนี้

๑. ให้ผู้ที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อภายใน ๑๕ วัน, ผู้มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ควบคุมสูงสุด
และเข้มงวด ๒๔ จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดตาก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดยะลา จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๑๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ เพื่อเข้ามาพำนักในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ณ โรงพยาบาล ในพื้นที่ที่ผู้เดินทางจะไปพำนักโดยทันทีสำหรับประชาชนที่จะพำนักในอำเภอเมือง-สกลนครให้ไปรายงานตัว ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ภูพาน (หลังโรงเรียนอนุบาลสกลนคร) อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่พิจารณาตรวจหาเชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเข้ารับการกักตัว ๑๔ วัน ณ ที่พักอาศัย (HomeQuarantine) ต่อไป

๒. ให้ผู้มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ๓๗ จังหวัด ตามคำสั่งศูนย์บริหาร
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-1) ที่ ๓๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เพื่อเข้ามาในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ต้องลงทะเบียนรายงานตัวทางแอพพลิเคชั่นไลน์ ระบบรายงานตัวเข้าสกลนคร" โดยสแกนคิวอาร์โค้ด (แนบท้ายคำสั่งนี้) ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนหรือรายงานตัวต่อผู้หนึ่งผู้ใดดังต่อไปนี้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, ประธานชุมชน, อสม., เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ศูนย์สุขภาพชุมชน ในพื้นที่ที่ผู้เดินทางจะไปพำนักโดยทันที เพื่อเข้ารับการกักตัว ๑๔ วัน ณ ที่พักอาศัย (Home Quarantine) และให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่พิจารณาตรวจหาเชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต่อไป

๓. ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุม ๓๓ จังหวัด ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๓๑/๒๕๖๔ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ต้องปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-TDA (เว้นระยะห่างระหว่างกัน, สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า, ล้างมือบ่อย ๆ, ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, ตรวจเชื้อโควิด-19 และใช้แอพพลิเคชั่นไทยชนะและหมอชนะ)

๔. ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ ตามข้อ ๑ หรือข้อ ๒ ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac หรือ Sinopliam จำนวน ๒ เข็ม มาแล้วไม่น้อยกว่า ๗ วัน หรือได้รับการฉีดวัคซีน AstraZenea, fzer ,Moderm8 หรือ Johnson & Johnson จำนวน ๒ เข็ม มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ ต้องไปรายงานตัวตามที่
กำหนดในข้อ ๑ หรือข้อ ๓ แล้วแต่กรณี เพื่อแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีน หากครบกำหนดตามเงื่อนไขไม่ต้องกักตัว ๓๔ วัน โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครกำหนด

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๔๔ หรือต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๑
แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
สั่ง ณ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

(นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสกลนคร










คำสั่งจังหวัดสกลนคร
ที่ ๓/๒๕๖๔
เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
...
ตามที่จังหวัดสกลนคร ได้ดำเนินการมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19 ในพื้นที่จังหวัดสกลนครไปแล้วนั้น ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมและผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังมีอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ประกอบกับปัจจุบันประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้วบางส่วน จึงมีความจำเป็นต้องออกมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ มาตรา ๓๔ และมาตรา ank ห่งพระราชบัญญัติ
โรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ และข้อ ๓ ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๒๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสกลนคร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสกลนคร ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ๒๕๖๔ จึงยกเลิกคำสั่งจังหวัดสกลนคร ที่ ๓๖/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และมีคำสั่งดังต่อไปนี้

๑. ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ๒๔ จังหวัด ประกอบด้วย
กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดตาก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดยะลา จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๓/๒๕๖๔ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และประสงค์จะเข้าพักในโรงแรมหรือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม ตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมจะสามารถรับเข้าพักได้ ผู้เข้าพักจะต้องเข้าพักเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน โดยห้ามมิให้ออกจากห้องพักโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งให้แจ้งชื่อ-ชื่อสกุล หมายเลขโทรศัพท์ ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือศูนย์สุขภาพชุมชนในพื้นที่ที่โรงแรมตั้งอยู่ เพื่อพิจารณาตรวจหาเชื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต่อไป

๒. ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด ในพื้นที่ ๓๗ จังหวัด ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ ๑๓/๒๕๖๔ ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และประสงค์จะเข้าพักโรงแรมหรือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร และผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมจะสามารถรับเข้าพักได้จะต้องเป็นผู้มีหนังสือรับรองผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 โดยวิธีการตรวจ t-PCR และผลตรวจภายใน ๗๒ ชั่วโมง (๓ วัน) หรือ Rapid Antigen Test ผลตรวจภายใน ๒๔ ชั่วโมง (๓ วัน) ผลตรวจไม่พบเชื้อจึงจะสามารถเข้าพักได้ ทั้งนี้ หากผู้เข้าพักประสงค์จะขอหนังสือรับรองผลการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สามารถเข้ารับการตรวจหาเชื้อฯ ได้ ณ โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดสกลนคร โดยผู้รับการตรวจเสียค่าใช้จ่ายเอง และปฏิบัติตามแนวทางที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครกำหนด
๓. ให้ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ ตามข้อ ๑ หรือข้อ ๒ ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac หรือ
Sinopham จำนวน 6 เข็ม มาแล้วไม่น้อยกว่า ๗ วัน หรือได้รับการฉีดวัคซีน AstraZenera, Pfize, Moderma
หรือ Johnson & Johnson จำนวน ๑ เข็ม มาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ สัปดาห์ พร้อมแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีน
ต่อพนักงานโรงแรม หากครบตามเงื่อนไขให้เข้าพักในโรงแรม หรือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗ หากไม่ครบตามเงื่อนไขให้ตรวจ Rapid Antigen Test ถ้าผลเป็นลบสามารถเข้าพักในโรงแรมหรือสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗ ในพื้นที่จังหวัดสกลนครได้โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครกำหนด

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๑ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๕๒
แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

สั่ง ณ วันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

(นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสกลนคร











คำสั่งจังหวัดสกลนคร
ที่ ๔o ๒๕๖๔
เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุม
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ตามที่จังหวัดสกลนคร ได้มีมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิต-19) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่จังหวัดสกลนครไปแล้วนั้น โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ยังคงทวีความรุนแรง โดยเฉพาะไวรัสกลายพันธุ์ชนิดสายพันธุ์เคลตาที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อโรคกันได้โดยง่าย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องบังคับใช้บรรดามาตรการ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่าง ๆ อย่างเข้มงวดกวดขันเพื่อการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องออกไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง และยกระดับบางมาตรการเพื่อให้การควบคุมการระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันมิให้การระบาตเพิ่มความรุนแรงขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ และมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ
พ.ศ.๒๕๕๘ ข้อ ๒ และ ข้อ ๗ (๑) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๓ และข้อกำหนดออก
ตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๓๐) ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร โดยความเห็นขอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสกลนคร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสกลนคร ครั้งที่ ๒๖ /๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ จึงยกเลิกคำสั่งจังหวัดสกลนครที่ ๓๔/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕l๖๔. เฉพาะข้อที่ ๓ และมีคำสั่งดังต่อไปนี้
๑. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค
ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่ายี่สิบคน
เว้นแต่กรณีได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การจัดกิจกรรมให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรค ที่ทางราชการกำหนด ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่เคยได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมได้ตามข้อกำหนดที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้ เมื่อข้อกำหนดนี้ได้มีการปรับระดับมาตรการในเรื่องจำนวนบุคคลให้เข้มงวดขึ้นให้ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมดำเนินการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบและทบทวนมาตรการป้องกันโรคในการจัดกิจกรรมในช่วงระยะเวลานี้ให้เหมาะสมกับหัวงเวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

๒. กิจกรรมที่ได้รับยกเว้น กิจกรรมหรือการรวมกลุ่มของบุคคลดังต่อไปนี้สามารถจัดได้
โดยไม่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๑ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด อย่างเคร่งครัด
(๑) กิจกรรมเกี่ยวกับการขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ การขนส่งประชาชน
เพื่อเดินทางไป หรือออกจากที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ศูนย์พักคอยรอการส่งตัว หรือสถานที่เพื่อการ ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในชั้นแรก
(๒) กิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการสาธารณสุข
(๓) กิจกรรมเกี่ยวกับการให้บริการ การให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยประโยชน์หรือ
ความสะดวกแก่ประชาชน
(๔) การรวมกลุ่มของบุคคลตามปกติในที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน การประชุมโดยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการออกกำลังกายในสถานที่ตามที่ทางราชการกำหนด
(๕) กิจกรรมที่ดำเนินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยองค์กรหรือ
หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยงานดังกล่าว หรือกิจกรรมอื่นตามที่ ศปม. กำหนด
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเข้าไปกำกับตรวจสอบหรือให้คำแนะนำการดำเนินกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลได้ หากพบว่าการจัดหรือการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตักเตือนหรือแนะนำเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง หรืออาจสั่งให้ยุติการดำเนินกิจกรรมนั้นได้

ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท ตามมาตรา ๕๓ หรือต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๘ แล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
สั่ง ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

(นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์)
ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดสกลนคร

"อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ"

ที่มา : ประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Triple 4 Café - ทริปเปิ้ลโฟร์ คาเฟ่ #คาเฟ่พรรณานิคม #คาเฟ่สกลนคร - ไปเลาะไหนดี

เขื่อนน้ำอูน แคมป์ปิ้งนั่งชิลริมเขื่อน อ.พังโคน จ.สกลนคร - ไปเลาะไหนดี

WINO Cafe’ (ไวน์โน่ คาเฟ่) #คาเฟ่ส ไตล์มินิมอล หน้า ม.ราชภัฏสกลนคร